โน๊ตดนตรีไทย
แต่เดิมบทเพลงไทยไม่มีการบันทึกด้วยตัวอักษรหรือสัญญาลักษณ์ใดๆ การถ่ายทอดทำนองเพลงของไทยนั้น ฝึกหัดและต่อบทเพลงจากผู้ที่เป็นครูทางดนตรี ด้วยการจำ และปฏิบัติซ้ำ ที่เรียกว่าการฝึกซ้อมคือทุกวันจนเกิดความแม่นยำ และช่ำชองและสืบทอดต่อกันมาเรื่อยๆ
การใช้โน้ตในการบันทึกเพลงไทยก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว บางครั้งมีการบันทึกโน้ตเพลงเป็นตัวเลข บางครั้งก็บันทึกด้วยโน้ตสากล แต่ส่วนใหญ่มักใช้บันทึกตัวโน้ตเพลงไทยด้วยตัวอักษรไทยแทนตัวโน้ตสากลดังนี้ โน้ตเพลงไทยแบบที่กล่าวถึงนี้ใช้บันทึกด้วยอักษรไทยแทนการออกสียงของโน้ตเพลงสากล คือ
- ตัว ด ใช้แทนเสียง โด
- ตัว ร ใช้แทนเสียง เร
- ตัว ม ใช้แทนเสียง มี
- ตัว ฟ ใช้แทนเสียง ฟา
- ตัว ซ ใช้แทนเสียง ซอล
- ตัว ล ใช้แทนเสียง ลา
- ตัว ท ใช้แทนเสียง ที,ซี
>ตัวอย่างโน๊ตดนตรีไทย
โน๊ตดนตรีสากล
บันทึกอยู่บนบรรทัด 5 เส้น และเส้นน้อย โดยมีกุญแจประจำหลักบันทึกไว้ตอนเริ่มต้นของบรรทัด 5 เส้น เป็นเครื่องหมายกำกับให้อ่านชื่อตัวโน๊ต กุญแจหลัก มี 2 ชนิดคือกุญแจซอล และ กุญแจฟา ตามด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จะเขียนเหมือนเลขเศษส่วนแต่จะไม่มีขีดคั่นกลาง เลขตัวล่างหมายถึงลักษณะตัวโน้ตที่บันทึกตามจังหวะเพลง
โน๊ตดนตรีสากล
๏ สัญลักษณ์และเครื่องหมายทางดนตรีสากล
บันทึกอยู่บนบรรทัด 5 เส้น และเส้นน้อย โดยมีกุญแจประจำหลักบันทึกไว้ตอนเริ่มต้นของบรรทัด 5 เส้น เป็นเครื่องหมายกำกับให้อ่านชื่อตัวโน๊ต กุญแจหลัก มี 2 ชนิดคือกุญแจซอล และ กุญแจฟา ตามด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จะเขียนเหมือนเลขเศษส่วนแต่จะไม่มีขีดคั่นกลาง เลขตัวล่างหมายถึงลักษณะตัวโน้ตที่บันทึกตามจังหวะเพลง
>ตัวอย่างโน๊ตดนตรีสากล
๏ การอ่านโน๊ตดนตรีสากล
จะต้องอ่านเสียงตัวโน้ตตามกุญแจประจำหลักให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องอ่านตามอัตราจังหวะของตัวโน้ต และสัญลักษณ์แทนเครื่องหมายหยุด โน้ตที่มีการบันทึกทั้งกุญแจซอลและกุญแจฟาเบสพร้อมกันนั้น มีความมุ่งหมายที่ให้ใช้กับการบรรเลงเครื่องดนตรีโดยตรง เช่น การบรรเลงด้วยเปียโน กุญแจซอลใช้เล่นด้วยมือขวา กุญแจฟาเบสเล่นด้วยมือซ้าย บันไดเสียงเมเจอร์ เป็นบันไดเสียงที่มีแฟลต …… ไม่มีชาร์ป
>แบบฝึกปฏิบัติการอ่านโน๊ตสากลดาวน์โหลดเอกสาร ตรงนี้
นรมใสงบยจร่ยมใส
ตอบลบ