ดนตรี คือ...
เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและมีแบบแผนโครงสร้างเป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียงโดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะและคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียงพื้นผิวของเสียงความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์การสื่อสารความบันเทิงรวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ
เสียง (Tone)
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการคือระดับเสียงความยาวของเสียงความเข้มของเสียงและคุณภาพของเสียง
1 ) ระดับเสียง (Pitch)
ระดับความสูง-ต่ำของเสียงซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือนกล่าวคือถ้าเสียงที่มีความถี่สูงลักษณะการสั่นสะเทือนเร็วจะส่งผลให้มีระดับเสียงสูงแต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
2 ) ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration)
คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียงซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลาจังหวะในดนตรีตะวันตกการกำหนดความสั้น-ยาวของเสียงสามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ตเช่นโน้ตตัวกลมตัวขาวและตัวดำเป็นต้นสำหรับในดนตรีไทยนั้นแต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลักแต่ย่างไรก็ตามการสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอกฆ้องวงในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
3 ) ความเข้มของเสียง (Intensity)
ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียงความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
4 ) คุณภาพของเสียง (Tone Quality)
เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกันปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้นเกิดจากหลายสาเหตุเช่นวิธีการผลิตเสียงรูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียงและวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียงปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียงซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
5) สีสันของเสียง (Tone color )
คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกันแหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าวเป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิงหรือระหว่างเพศเดียวกันซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระเช่นหลอดเสียงและกล่องเสียงเป็นต้น
องค์ประกอบทางดนตรีของเพลง
1.จังหวะ
คือ อัตราจังหวะของดนตรีมีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะบอกว่า บทเพลงที่ฟังนั้น มีความช้าหรือเร็วอย่างไร โดยสังเกตได้จากเลขกำกับในบรรทัดห้าเส้น
2.ทำนอง
คือ ระดับเสียงสูง-ต่ำ ที่ถูกจัดเรียบเรียงให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะบอกถึงทำนองหลักของเพลง บันไดเสียง กุญแจเสียง รูปร่างของทำนองเพลง เราจะต้องดูว่าทำนองที่ได้ฟังนั้นมีความสอดคล้องและกลมกลืนกันมากเท่าใด
3.การประสานเสียง
คือ เสียงการขับร้องและเสียงการบรรเลงดนตรีพร้อมกัน หรือการขับร้องเป็นหมูคณะพร้อมกัน ซึ่งต้องทำให้สอดคล้องกลมกลืนกัน ถ้าหากไม่ไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้เพลงไม่ไพเราะและไม่มีคุณภาพ
4.รูปแบบของเพลง
คือ โครงสร้างของเพลง ซึ่งประกอบไปด้วยการซ้ำหรือการเปลี่ยนของเพลง การจัดรูปแบบเนื้อเพลง และเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกลมกลืนและมีความไพเราะ สื่อความหมายให้ผู้ฟังได้รับรู้ถึงอารมณ์ของเพลงได้
ดาวน์โหลดเอกสาร ตรงนี้